“บิ๊กตู่” ห่วงชาวอุบลฯ สั่งเร่งป้องกันผลกระทบมวลน้ำหลาก

“บิ๊กตู่” ห่วงชาวอุบลฯ
สั่งเร่งป้องกันผลกระทบมวลน้ำหลาก

สทนช. ติดตามนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เพื่อรับทราบสถานการณ์น้ำในปัจจุบันและแนวทางการบริหารจัดการน้ำ ตาม 10 มาตรการฤดูฝน ย้ำหน่วยงานร่วมมือเตรียมแผนเผชิญเหตุอุทกภัยให้มีความพร้อมสูงสุด ทั้งติดตามความก้าวหน้าโครงการสำคัญด้านน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล แก้ปัญหาน้ำอย่างยั่งยืน

วันนี้ (15 ต.ค. 64) ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยภายหลังติดตาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและแนวทางการบริหารจัดการน้ำของ จ.อุบลราชธานี ณ เขื่อนสิรินธร ต.นิคมลำโดมน้อย อ.สิรินธร พร้อมตรวจเยี่ยมการบรรเทาภัยและการฟื้นฟูผู้ประสบภัย ณ ศูนย์พักพิงโครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ต.วารินชำราบ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี ว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยสถานการณ์น้ำในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เนื่องจากมีการประเมินสถานการณ์ว่ามวลน้ำหลากจากพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม และนครราชสีมา จะไหลมารวมที่ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี การลงพื้นที่ในวันนี้เพื่อเป็นการติดตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำและเร่งรัดการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ให้สามารถรับมือกับผลกระทบจากมวลน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจากการติดตามคาดการณ์สถานการณ์น้ำของ จ.อุบลราชธานี ทั้งในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูลในระยะต่อจากนี้ พบว่า บริเวณลุ่มน้ำชี คาดการณ์ประเมินปริมาณน้ำจากแม่น้ำชีผ่านอำเภอเขื่องใน จะไปบรรจบลงแม่น้ำมูล ที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี ประมาณ 900 – 1,000 ลบ.ม./วินาที ไปถึงช่วงวันที่ 24 – 29 ต.ค. 64 ทั้งนี้ กรมชลประทานจะเร่งระบายมวลน้ำของแม่น้ำมูลลงแม่น้ำโขง ก่อนที่มวลน้ำจากแม่น้ำชีจะลงไหลลงไปสมทบภายหลัง ณ เมืองอุบลราชธานี ซึ่งจะไม่มีผลทำให้ปริมาณน้ำที่สถานี M.7 ล้นเอ่อท่วมในเขตเศรษฐกิจเมืองอุบลราชธานี ส่วนบริเวณลุ่มน้ำมูล ณ สะพานเสรีประชาธิปไตย อ.เมืองอุบลราชธานี ระดับน้ำสูงสุดเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 64 อยู่ที่ 7.49 เมตร (สูงกว่าตลิ่ง 0.49 เมตร) และปัจจุบันระดับน้ำอยู่ที่ 6.70 เมตร ต่ำกว่าตลิ่ง 0.30 เมตร มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง วันละ 0.10 – 0.15 เมตร

ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังได้ดำเนินโครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำชีและลุ่มน้ำมูล ทั้งการดำเนินงานในปัจจุบันและแผนในระยะถัดไป โดยในช่วงปี 2559 – 2564 เกิดโครงการสำคัญรวม 34 โครงการ ครัวเรือนรับประโยชน์ 63,673 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 557,686 ไร่ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกือบ 300 ล้าน ลบ.ม. เป็นโครงการป้องกันภัยน้ำท่วม 10 โครงการ สามารถป้องกันพื้นที่น้ำท่วมได้กว่า 3.7 แสนไร่ ตัวอย่างโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการอ่างเก็บน้ำลำเจียง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการแก้มลิงแก่งน้ำต้อน โครงการอ่างเก็บน้ำลำสะพุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า บ้านหนองไหล ฯลฯ และยังมีแผนดำเนินการโครงการสำคัญ ปี 2565 – 2567 อีก 129 โครงการ ซึ่งอยู่ภายใต้แผนหลักการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำกลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแผนปฏิบัติการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 5 ปี ครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน สอดคล้องตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทำให้มีพื้นที่รับประโยชน์ 2.40 ล้านไร่ ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นเกือบ 2,000 ล้าน ลบ.ม. เป็นโครงการป้องกันภัยน้ำท่วม 20 โครงการ สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ 84,582 ไร่ เช่น 1) โครงการผันน้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์-ลำตะคอง 2) โครงการบรรเทาอุทกภัย ทน.ราชสีมา-อำเภอพิมาย และเพิ่มพื้นที่ชลประทานอำเภอโนนสูง 3) โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำเชิญ 4) โครงการจัดหาน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปาที่โรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า และ 5) อ่างเก็บน้ำห้วยกระแหล่ง เป็นต้น

นอกจากการติดตามเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมพร้อมรับมือกับมวลน้ำหลากเพื่อป้องกันผลกระทบแก่ชาวอุบลราชธานีให้ได้มากที่สุดแล้ว นายกรัฐมนตรียังได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบริหารจัดการน้ำท่วมในช่วงนี้ โดยคำนึงถึงการเพิ่มการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งต่อไป ควบคู่กับมอบหมายให้กรมชลประทาน ร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานีและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับโครงการผันน้ำเลี่ยงเมืองอุบลราชธานี ตามแนวทางการบริหารจัดการน้ำหลากในเขตผังน้ำมูล-ชี ที่ สทนช.ดำเนินการศึกษา ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องนำไปขับเคลื่อนสู่การปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน อาทิ การประเมินระยะเวลาการเดินทางของน้ำตามลำน้ำเพื่อคาดการณ์ และเตือนภัยระดับและปริมาณน้ำ หรือก่อสร้างแนวผันน้ำเพิ่มเติมในบริเวณชุมชนที่สำคัญบริเวณแม่น้ำมูลตอนล่าง พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำ (แก้มลิงธรรมชาติ) เป็นพื้นที่น้ำนอง เพื่อบริหารจัดการร่วมกับเขื่อนระบายน้ำในแม่น้ำมูลได้ เป็นต้น เพื่อการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ได้ในระยะยาว

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
15 ตุลาคม 2564

“บิ๊กป้อม” ลุยพื้นที่ตรวจน้ำท่วมขอนแก่น

เมื่อวันที่ (14 ตุลาคม 2564) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำ จ.ขอนแก่น โดยประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการบริหารจัดการน้ำท่วมในลุ่มน้ำชีเพื่อป้องกันและลดผลกระทบให้กับประชาชนโดยเร็วที่สุด โดยมี นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวต้อนรับและรายงานสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นำเสนอภาพรวมการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการ กอนช. และแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำและแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้งในพื้นที่ รวมถึงผู้แทนหน่วยงานในพื้นที่ อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กรมอุตุนิยมวิทยา และผู้ว่าราชการอีก 3 จังหวัดลุ่มน้ำชี ได้แก่ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และ ยโสธร เข้าร่วมประชุมด้วยเนื่องจากเป็นพื้นที่รับมวลน้ำต่อจาก จ.ขอนแก่น เข้าร่วมนำเสนอการบริหารจัดการน้ำภาพรวมและการเตรียมการรับมือ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดขอนแก่น ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น ก่อนที่รองนายกรัฐมนตรีจะทำพิธีกดปุ่มกิจกรรมเพิ่มความสุขสูบน้ำด้วยเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ เพื่อเติมน้ำต้นทุนแก้ปัญหาภัยแล้งให้กับพื้นที่ อ.ภูเวียง และ อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น หลังจากนั้นลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแจกถุงยังชีพให้กับผู้ประสบภัยในพื้นที่ ต.ดอนหัน และ ต.ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการ กอนช. เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามเร่งรัดการแก้ไขปัญหาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ตามลำน้ำชี ตั้งแต่จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม โดยขณะนี้มวลน้ำกำลังเข้าสู่จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร และจังหวัดอุบลราชธานีตามลำดับ ซึ่ง กอนช. ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2564 เพื่อเตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้าและสามารถเข้าช่วยเหลือประชาชนได้อย่างทันท่วงที ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังเร่งขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ให้สิ้นสุดโดยเร็วประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  สั่งการให้ทุกหน่วยปฏิบัติเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากที่ยังมีแนวโน้มฝนตกหนักอยู่ในขณะนี้ เร่งดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงวางแผนเก็บน้ำสำรองทุกแหล่งทั้งผิวดินและใต้ดินไว้รองรับในช่วงฤดูแล้งหน้าด้วย โดยมอบหมายให้ สทนช. ร่วมกับจังหวัด กรมชลประทาน และ กฟผ. พิจารณากำหนดแผนบริหารจัดการน้ำของเขื่อนอุบลรัตน์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงตลอดลำน้ำชีด้วย พร้อมทั้งให้อนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดขอนแก่น โดยจังหวัดขอนแก่น และ สทนช. เป็นเจ้าภาพหลักจัดทำแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำแล้งและน้ำท่วมในจังหวัดขอนแก่น โดยเสนอผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำชี และให้ สทนช. รวบรวมเสนอ กนช. เห็นชอบต่อไป สำหรับโครงการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการแล้วขอให้เร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งเน้นย้ำทุกภารกิจด้านน้ำต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่ ซึ่งจะเป็นการต่อยอดขยายผลการแก้ไขปัญหาด้านน้ำของประเทศได้อย่างยั่งยืน

สำหรับสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ที่สลายตัวเป็นดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ และเข้าปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงวันที่ 24-25 .. 64 มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 9 จังหวัด ได้แก่ จ.ขอนแก่น มหาสารคาม ชัยภูมิ ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ซึ่ง กอนช. ได้ออกประกาศแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากฝนตกหนัก น้ำล้นตลิ่ง และการเพิ่มการระบายน้ำของเขื่อนต่างๆ ล่วงหน้ารวม 4 ฉบับ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการป้องกันผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและทรัพย์สินจากระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันบริหารจัดการน้ำในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย อาทิ  จัดจราจรน้ำให้มาไหลรวมกันน้อยที่สุด บริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ และเร่งระบายน้ำในแม่น้ำเพื่อรองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน รวมถึงปรับลดการระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์จากวันละ 20 ล้าน ลบ.. ล่าสุดระบายเหลือประมาณ 10 ล้าน ลบ.. สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคอีสานปัจจุบันคงเหลือพื้นที่น้ำท่วม 22 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ อ.เมืองอุบลราชธานี และ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 9 อำเภอ ใน จ.ขอนแก่น และ 10 อำเภอ ใน จ.นครราชสีมา  โดยสถานการณ์น้ำท่วม จ.ขอนแก่น ปัจจุบันระดับน้ำยังสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.10 เมตร แต่มีแนวโน้มลดลงวันละ 12 ซม. โดยคาดว่าน้ำที่หลากบริเวณหน้าเขื่อนมหาสารคาม อ.โกสุมพิสัย และท่วมทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำชี อ.เมืองขอนแก่น ประมาณ 10 -15 วัน จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวขัองเร่งให้การช่วยเหลือพร้อมสนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือเข้าดำเนินการให้สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายโดยเร็ว ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำ 55 เครื่อง เรือ 5 ลำ รถยนต์ 8 คัน และเครื่องผลักดันน้ำ 40 คัน

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า สทนช.ได้เร่งรัดผลักดันแผนงาน/โครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ จ.ขอนแก่น โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี’61–64 มีการพัฒนาแหล่งน้ำเกิดขึ้นรวม 2,070 แห่ง พื้นที่ได้รับการป้องกันกว่า 4.6 แสนไร่ เช่น ประตูระบายน้ำลำน้ำเชิญ แก้มลิงแก่งน้ำต้อน แก้มลิงหนองโป่งขี้กั่ว เป็นต้น และในปี’65 มีแผนงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำตามงบบูรณาการอีก 40 แห่ง ปริมาณน้ำ 3.62 ล้าน ลบ.. พื้นที่รับประโยชน์ 13,589 ไร่ ประชาชนได้รับประโยชน์ 6,475 ครัวเรือน มีพื้นที่ได้รับการป้องกัน 963 ไร่ เช่น ระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนบ้านไผ่ แก้มลิงกุดหมากเท้งพร้อมอาคารประกอบ ฝายห้วยสายบาตร และอนุรักษ์ฟื้นฟูห้วยโพงพร้อมระบบกระจายน้ำ เป็นต้น ขณะเดียวกันยังได้เร่งขับเคลื่อนแผนงานโครงการสำคัญ อีก 13 โครงการที่เน้นเพิ่มการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน และการป้องกันน้ำท่วมเพื่อป้องกันชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในช่วงปี’66 - 68 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะเพิ่มน้ำต้นทุนได้ 36.4 ล้าน ลบ.. พื้นที่รับประโยชน์ 35,181 ไร่ และ 9,344 ครัวเรือน อาทิ การขุดลอกแม่น้ำชี ระยะทาง 215 กม. อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้ ระบบระบายน้ำหลักเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองขอนแก่น ระยะที่ 2 แก้มลิงหนองเอียด และแก้มลิงหนองแปน เป็นต้น

------------------------------------

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

14 ตุลาคม 2564

 

สทนช. ร่วมกับ สสน. จัดทำ “ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด” 76 จังหวัด พร้อมใช้งานแล้วทางเว็บไซต์

สทนช. ร่วมกับ สสน. จัดทำ “ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด” 76 จังหวัด พร้อมใช้งานแล้วทางเว็บไซต์ http://pwrc.thaiwater.net/
และสามารถติดตามสถานการณ์น้ำผ่าน “ศูนย์ฯ น้ำจังหวัด” รายจังหวัด ดังนี้

💧สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 1 (ภาคเหนือ)
1 แพร่ http://phrae.thaiwater.net/
2 พิจิตร http://phichit.thaiwater.net/
3 ลำพูน http://lamphun.thaiwater.net/
4 น่าน http://nan.thaiwater.net/
5 ลำปาง http://lampang.thaiwater.net/
6 เชียงใหม่ http://chiangmai.thaiwater.net/
7 พิษณุโลก http://phitsanulok.thaiwater.net/
8 กำแพงเพชร http://kamphaengphet.thaiwater.net/
9 อุตรดิตถ์ http://uttaradit.thaiwater.net/
10 พะเยา http://phayao.thaiwater.net/
11 เชียงราย http://chiangrai.thaiwater.net/
12 แม่ฮ่องสอน http://maehongson.thaiwater.net/
13 ตาก http://tak.thaiwater.net/
14 สุโขทัย http://sukhothai.thaiwater.net/
.

💧สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 2 (ภาคกลาง)
15 พระนครศรีอยุธยา http://ayutthaya.thaiwater.net/
16 สุพรรณบุรี http://suphanburi.thaiwater.net/
17 ฉะเชิงเทรา http://chachoengsao.thaiwater.net/
18 สระแก้ว http://sakaeo.thaiwater.net/
19 จันทบุรี http://chanthaburi.thaiwater.net/
20 เพชรบูรณ์ http://phetchabun.thaiwater.net/
21 นครนายก http://nakhonnayok.thaiwater.net/
22 สมุทรปราการ http://samutprakan.thaiwater.net/
23 นนทบุรี http://nonthaburi.thaiwater.net/
24 ปทุมธานี http://pathumthani.thaiwater.net/
25 อ่างทอง http://angthong.thaiwater.net/
26 ลพบุรี http://lopburi.thaiwater.net/
27 สิงห์บุรี http://singburi.thaiwater.net/
28 ชัยนาท http://chainat.thaiwater.net/
29 สระบุรี http://saraburi.thaiwater.net/
30 ราชบุรี http://Ratchaburi.thaiwater.net/
31 กาญจนบุรี http://kanchanaburi.thaiwater.net/
32 นครปฐม http://nakhonpathom.thaiwater.net/
33 สมุทรสาคร http://samutsakhon.thaiwater.net/
34 สมุทรสงคราม http://samutsongkhram.thaiwater.net/
35 นครสวรรค์ http://nakhonsawan.thaiwater.net/
36 อุทัยธานี http://uthaithani.thaiwater.net/
37 ชลบุรี http://chonburi.thaiwater.net/
38 ระยอง http://rayong.thaiwater.net/
39 ตราด http://trat.thaiwater.net/
40 ปราจีนบุรี http://prachinburi.thaiwater.net/
41 เพชรบุรี http://phetchaburi.thaiwater.net/
42 ประจวบคีรีขันธ์ http://prachuapkhirikhan.thaiwater.net/
.

💧สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 3 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
43 สกลนคร http://sakonnakhon.thaiwater.net/
44 ชัยภูมิ http://chaiyaphum.thaiwater.net/
45 นครราชสีมา http://nakhonratchasima.thaiwater.net/
46 บุรีรัมย์ http://buriram.thaiwater.net/
47 ยโสธร http://yasothon.thaiwater.net/
48 หนองบัวลำภู http://nongbualamphu.thaiwater.net/
49 ขอนแก่น http://khonkaen.thaiwater.net/
50 มหาสารคาม http://mahasarakham.thaiwater.net/
51 ร้อยเอ็ด http://roiet.thaiwater.net/
52 มุกดาหาร http://mukdahan.thaiwater.net/
53 อุบลราชธานี http://ubonratchathani.thaiwater.net/
54 สุรินทร์ http://surin.thaiwater.net/
55 ศรีสะเกษ http://sisaket.thaiwater.net/
56 อำนาจเจริญ http://amnatcharoen.thaiwater.net/
57 อุดรธานี http://udonthani.thaiwater.net/
58 เลย http://loei.thaiwater.net/
59 หนองคาย http://nongkhai.thaiwater.net/
60 กาฬสินธุ์ http://kalasin.thaiwater.net/
61 นครพนม http://nakhonphanom.thaiwater.net/
62 บึงกาฬ http://buengkan.thaiwater.net/
.

💧สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ภาค 4 (ภาคใต้)
63 สุราษฎร์ธานี http://suratthani.thaiwater.net/
64 ชุมพร http://chumphon.thaiwater.net/
65 ตรัง http://trang.thaiwater.net/
66 นครศรีธรรมราช http://nakhonsithammarat.thaiwater.net/
67 สงขลา http://songkhla.thaiwater.net/
68 ยะลา http://yala.thaiwater.net/
69 ปัตตานี http://pattani.thaiwater.net/
70 นราธิวาส http://narathiwat.thaiwater.net/
71 กระบี่ http://krabi.thaiwater.net/
72 พังงา http://phangnga.thaiwater.net/
73 ภูเก็ต http://phuket.thaiwater.net/
74 สตูล http://satun.thaiwater.net/
75 พัทลุง http://phatthalung.thaiwater.net/
76 ระนอง http://ranong.thaiwater.net/

สทนช.ขับเคลื่อนกฎหมายลูก องค์กรผู้ใช้น้ำ..สร้างการมีส่วนร่วมตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ 2561

พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2562 มีวัตถุประสงค์ให้ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมบูรณาการการทำงานเพื่อให้ขับเคลื่อนภารกิจด้านน้ำ ทั้งในด้านการใช้น้ำ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา และการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำไปในทิศทางเดียว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครอบคลุมในทุกมิติ มีความสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งสะท้อนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริง

แต่การที่จะขับเคลื่อนพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีกฎหมายลำดับรอง หรือกฎหมายลูกรองรับด้วย

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า กฎหมายลำดับรองหรือกฎหมายลูกดังกล่าว จะช่วยสร้างกลไกการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน แก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สทนช. ก็จะเร่งขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับลุ่มน้ำให้สามารถจัดสรรน้ำได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และเป็นธรรม โดยในส่วนที่ สทนช. ดำเนินการจัดทำและยกร่างกฎหมายลำดับรอง (เฉพาะมาตราเร่งด่วน) ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 นั้น ขณะนี้ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่มน้ำ พ.ศ. …. ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. แล้ว อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งกฎหมายลำดับรองฉบับนี้เป็นการแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำของประเทศไทยใหม่ ให้เหมาะสมสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและวิถีชีวิตของประชาชน จาก 25 ลุ่มน้ำหลัก และ 254 ลุ่มน้ำสาขาเดิม เป็น 22 ลุ่มน้ำหลัก และ 353 ลุ่มน้ำสาขา

นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงองค์กรผู้ใช้น้ำ พ.ศ. …. เป็นกฎหมายลำดับรองอีกฉบับ ได้ผ่านกระบวนการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในปลายเดือนมกราคม 2564 ถือว่าเป็นกฎหมายลำดับรองอีกฉบับที่มีความสำคัญ

กฎกระทรวงองค์กรผู้ใช้น้ำ จะมีความสัมพันธ์กับพระราชกฤษฎีกากำหนดลุ่ม พ.ศ. …. ที่อยู่ระหว่างทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทั้งนี้กฎกระทรวงดังกล่าว จัดทำขึ้นตามหมวดที่ 3 ว่าด้วยองค์กรบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่ระบุไว้ว่า องค์กรในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ มี 3 ระดับ 1.ระดับชาติ ได้แก่ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กนช. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน 2.ระดับลุ่มน้ำ ได้แก่ คณะกรรมการลุ่มน้ำ ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตลุ่มน้ำที่ได้รับเลือกเป็นประธาน และ 3.ระดับองค์กรผู้ใช้น้ำ ที่เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ที่ใช้น้ำในบริเวณใกล้เคียงกันและอยู่ในเขตลุ่มน้ำเดียวกัน รวมตัวกัน จดทะเบียนก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อประโยชน์ร่วมกันเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ในหมู่สมาชิกขององค์กรผู้ใช้น้ำ

ซึ่งนอกจากองค์กรผู้ใช้น้ำจะมีบทบาทในการบริหารทรัพยากรน้ำในหมู่สมาชิกของตนแล้ว สมาชิกองค์กรผู้ใช้น้ำ องค์กรละ 1 คน สามารถเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำในเขตลุ่มน้ำของตนได้ ซึ่งลุ่มน้ำหนึ่ง ๆ มีจำนวน 9 คน จากภาคเกษตรกรรม 3 คน ภาคอุตสาหกรรม 3 คน และภาคพาณิชยกรรม 3 คน โดยกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำเหล่านั้น ยังมีสิทธิได้รับการคัดเลือกไปเป็นกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช. )ได้อีกด้วย ทั้งประเทศมีจำนวน 4 คน

“องค์กรผู้ใช้น้ำจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยบริหารจัดการน้ำ กล่าวคือ องค์กรผู้ใช้น้ำจะเป็นช่องทางให้ผู้ใช้น้ำที่มีเป้าประสงค์ร่วมกันจากลุ่มน้ำเดียวกัน บริเวณเดียวกัน รวมตัวกันเพื่อเกิดให้การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการ สถานการณ์และปัญหาในพื้นที่ รวมทั้งตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กลุ่มเครือข่ายและองค์กรต่าง ๆ เป็นกลไกในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระดับพื้นที่ โดยสามารถนำเสนอโครงการต่างๆ อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชนสู่คณะกรรมการลุ่มน้ำและคณะกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดได้โดยตรง หรือกระทั่งสิทธิในการร่วมกันหารือ แลกเปลี่ยนข้อมูล ไกล่เกลี่ย แก้ปัญหาร่วมกัน กรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำด้วยกันในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมถึงเป็นตัวแทนองค์กรผู้ใช้น้ำที่มาจากคณะกรรมการลุ่มน้ำยังสามารถแสดงความคิดเห็นในคณะกรรมการระดับชาติ คือ กนช. ได้อีกด้วย องค์กรผู้ใช้น้ำจึงจัดเป็นฟันเฟืองสำคัญในการมีส่วนช่วยในการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศครอบคลุมทุกมิติมากยิ่งขึ้น” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

ปัจจุบันแม้หน่วยงานด้านน้ำหลายหน่วยงานมีการจัดตั้งองค์กรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้นมาบ้างแล้ว เช่น กลุ่มผู้ใช้น้ำของกรมชลประทาน ที่มีอยู่กระจายอยู่ในพื้นที่โครงการชลประทานทั่วประเทศ แต่ยังไม่ได้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และยังมีไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศ ดังนั้นภายหลังจากที่กฎกระทรวงองค์กรผู้ใช้น้ำ มีผลบังคับใช้แล้ว องค์กรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมตามภารกิจ ต้องมายื่นขอก่อตั้งเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ

การจดทะเบียนเพื่อขอก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำ ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปี 2561 กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่รวมตัวกัน ต้องตั้งตัวแทนไปยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งองค์ผู้ใช้น้ำต่อนายทะเบียน (นายทะเบียนคือเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือผู้ที่เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติมอบหมาย) สามารถยื่นสมัครทางออนไลน์ได้ที่ website : twuo.onwr.go.th ซึ่งเป็นช่องทางที่สะดวก รวดเร็ว ลดการใช้กระดาษ และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สอดคล้องกับการบริหารราชการแบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า e-government ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนเพิ่มเติม สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้กำหนดสถานที่ยื่นคำขอจดลงทะเบียนเพื่อก่อตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำไว้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยเปิดจุดลงทะเบียนออนไลน์ในส่วนกลางสามารถยื่นได้ที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อาคารจุฑามาศ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาคสามารถยื่นได้ที่สำนักงานของ สทนช. ภาค 1- 4 ที่จังหวัดลำปาง จังหวัดสระบุรี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายทะเบียนจะใช้เวลาตรวจสอบเอกสารข้อมูลประมาณ 30 วัน หากเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนถูกต้องครบถ้วนก็จะออกหนังสือสำคัญการจดทะเบียนองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อเป็นเอกสารรับรองว่าเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำ ต่อไป

รายละเอียดอื่น ๆ ในการรับสมัคร สทนช. จะได้แจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป

สำหรับกฎหมายลำดับรองฉบับอื่น ๆ ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ที่ สทนช. รับผิดชอบที่เป็นมาตราเร่งด่วนมีจำนวน 18 มาตรา รวม 23 ฉบับ ขณะนี้ได้ยกร่างผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแล้ว ซึ่ง สทนช. ได้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายลำดับรองให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

นอกจากกฎหมายลำดับรองที่ สทนช. รับผิดชอบแล้ว ยังมีกฎหมายลำดับรอง ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 อีกจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่และอำนาจของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเช่นกัน และหากกฎหมายรองทุกฉบับมีผลบังคับใช้แล้ว การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศก็จะถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ถูกต้อง เหมาะสม ไม่ซ้ำซ้อนและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสะท้อนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนตรงตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 อย่างแท้จริง

—————————————————————————————————

สทนช. ร่วมถวายแจกันดอกไม้หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ และลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2564

เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564เวลา 9.45 น. ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง และคณะ ร่วมถวายแจกันดอกไม้หน้าพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2564 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

สทนช.จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนบทเรียนการบริหารจัดการน้ำในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤต

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2563 นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนบทเรียนการบริหารจัดการน้ำในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤต โดยมี นายบุญสม ชลพิทักษ์วงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุม พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่ สทนช. รวมกว่า 100 คน เข้าร่วม ณ โรงแรมสีดา รีสอร์ท จังหวัดนครนายกทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ได้รับการมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2563 ภายใต้ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 เพื่ออำนวยการ บูรณาการ และประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนในการควบคุมวิกฤติน้ำในภาวะรุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้อยู่ในวงจำกัด ให้หน่วยงานด้านปฏิบัติในพื้นที่สามารถช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด โดยมีศูนย์อำนวยการน้ำแห่งชาติ และกองบริหารจัดการลุ่มน้ำ ปฎิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกว่า 40 หน่วยงาน สำหรับการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน ณ ปัจจุบัน กอนช. ได้มีการสรุปบทเรียน ประสบการณ์ และปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานในการติดตามและบริหารจัดการสถานการณ์น้ำทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม รวมทั้งการสนับสนุนและผลักดันงบประมาณและโครงการต่าง ๆ ในการแก้ไขวิกฤตด้านน้ำ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในครั้งนี้ จะเป็นการทบทวนและแบ่งปันประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การตอบสนองต่อวิกฤตด้านน้ำ วิธีการประสานงานระหว่างหน่วยงาน และแนวทางในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการปฏิบัติงานเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงด้านน้ำและวิกฤตด้านน้ำ และการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ภารกิจ กอนช. สรุปเป็นบทเรียนในการปฏิบัติงานของ กอนช. ในการรับมือวิกฤตด้านน้ำ ต่อไปอนึ่ง การประชุมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนบทเรียนการบริหารจัดการน้ำในสภาวะปกติและสภาวะวิกฤต มีระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 12-13 กันยายน 2563 โดยมีการบรรยายในหัวข้อ “การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ” โดยนายเลิศพันธ์ สุขยิรัญ ผู้อำนวยการกลุ่มสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการบรรยายหัวข้อ “การบริหารจัดการน้ำของ กอนช. และการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอำนวยการ บริหารจัดการ และพิจารณาระดับความรุนแรงของสถานการณ์ภาวะวิกฤตน้ำ” โดยนายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ รักษาการแทนผู้เชี่ยวชาญด้านวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ นอกจากนี้ยังมีการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักพัฒนาระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทน สำนักงาน ก.พ. หัวข้อ “การวิเคราะห์อัตรากำลัง” โดยนายคมกฤช พอนอ่วม ผู้อำนวยการกลุ่มให้คำปรึกษาแนะนำกระทรวงมหาดไทย และส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง และหัวข้อ “การจัดทำแผนผังกระบวนงานและข้อมูลสถิติปริมาณงาน เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ กอนช.” โดยดร.มาฆะ ภู่จินดา นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ รวมทั้งการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นด้วย

 

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมหารือการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมหารือการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

เมื่อวันที่ 20 เม.ย. 63 นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมหารือการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยมีผู้บริหาร สทนช. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับการปรับปรุงรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563 ก่อนเสนอ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และสำนักงบประมาณเพื่อพิจารณาต่อไป ณ ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อาคารจุฑามาศ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ

พลเอก ประวิตร เร่งรัดการขุดลอก เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสู่คลองเปรมฯ ก่อนเข้าฤดูน้ำหลาก

พลเอก ประวิตร เร่งรัดการขุดลอก
เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำสู่คลองเปรมฯ ก่อนเข้าฤดูน้ำหลาก
วันนี้ (20 เมษายน 2563) พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ เดินทางลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการขุดลอกเปิดทางน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองเปรมประชากร โดยมี ดร. สมเกียรติ
ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พลโท ธรรมนูญ วิถี แม่ทัพภาคที่ 1 นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พลตรี ไพรัช โอฬารไพบูลย์ ผู้บัญชาการกองพลพัฒนาที่ 1 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การต้อนรับและบรรยายสรุปผลการดำเนินงาน ณ หอประชุมอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จากนั้น คณะรองนายกรัฐมนตรีเดินทางไปตรวจเยี่ยมจุดดำเนินโครงการขุดลอกดินตะกอนเปิดทางน้ำแม่น้ำเข้าสู่คลองเปรมประชากร บริเวณหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามแผนแม่บท โครงสร้างพื้นฐานระบบคลองและการพัฒนาชุมชนริมคลองเปรมประชาชน (พ.ศ. 2562- 2570) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการน้ำทั้งการระบายน้ำ และจัดการคุณภาพน้ำในพื้นที่คลอง
เปรมประชากร และโครงข่ายที่เชื่อมต่อกัน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำเสีย รวมถึงการฟื้นฟูและการพัฒนา การคมนาคมขนส่งทางน้ำตามโครงข่ายต่าง ๆ นั้น ในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่คลองเปรมประชากรอยู่ในความรับผิดชอบ ในพื้นที่อำเภอบางปะอิน ความยาว 8.8 กิโลเมตร โดยจังหวัดได้ดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณสองฝั่งคลองทั้งในส่วนของการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในคลองและสิ่งกีดขวางทางน้ำ รวมทั้งการปรับปรุงคุณภาพน้ำและการขุดลอกคลองบางกระสั้นที่เชื่อมต่อกับคลองเปรมประชากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำ โดยบูรณการการทำงานร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 โดยกองพลพัฒนาที่ 1 ที่ผ่านมา จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการขุดลอกดินตะกอนที่เป็นสันดอนบริเวณปากคลองบางกระสั้นซึ่งกีดขวางการไหลของน้ำ เพื่อเปิดทางน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้ไหลเข้าสู่คลองเปรมประชากรได้สะดวกขึ้น ผมได้อนุมัติงบประมาณจำนวน 6.39 ล้านบาท จากงบกลาง ปี 2563 เพื่อดำเนินการ การลงพื้นที่ครั้งนี้ได้กำชับทางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการโครงการฯ ให้แล้วเสร็จตามกำหนดก่อนฤดูฝนที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ ผลการดำเนินการหลังจากกองพลพัฒนาที่ 1 เข้าดำเนินการตั้งแต่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายในการขุดลอกให้มีความกว้าง 80 เมตร ลึก 4 เมตร ยาว 450 เมตร หรือมีปริมาณดินไม่น้อยกว่า 70,000 ลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีความก้าวหน้าร้อยละ 98 คาดว่าจะแล้วเสร็จใน 30 เม.ย.นี้อย่างแน่นอน ในโอกาสนี้ ผมขอชื่นชมการดำเนินการบูรณาการร่วมกันระหว่างจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและกองทัพบก โดยกองพลพัฒนาที่ 1 ในครั้งนี้ ที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเพิ่มเติมถึงแผนงานโครงการพัฒนาและฟื้นฟูคลองเปรมประชากรที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) รวม 6
โครงการ ได้แก่ 1. โครงการอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากร 2. งานขุดลอกคลองเปรมประชากรจากคลองเชียงรากน้อย-สถานีสูบน้ำบางปะอิน 3. งานขุดลอกคลองเปรมประชากรจากคลองรังสิต-คลองเชียงรากน้อย 4. งานติดตั้งตะแกรงพร้อมเครื่องคราดขยะประตูระบายน้ำเปรมใต้รังสิต 5. งานก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองเปรมประชากรจากเทศบาลสงเคราะห์ถึงสุดเขตกรุงเทพมหานคร 6. งานก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กคลองเปรมประชากรจากคลองบ้านใหม่ถึงคลองรังสิตฯ นอกจากนี้ยังมีอีก 1 โครงการ คือ งานพัฒนาคูริมน้ำวิภาวดี ระยะที่ 2 ที่ช่วยแก้ไขปัญหาการระบายน้ำ ถนนวิภาวดีรังสิต โดยการสูบน้ำจากคูริมน้ำวิภาวดีออกสู่คลองเปรมประชากรและลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอีก ซึ่งขณะนี้หน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการแล้วเสร็จบางส่วนตามแผนงานที่วางไว้
สำหรับคลองเปรมประชากร เป็นคลองสำคัญในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ขุดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2412 เพื่อการเดินเรือตั้งแต่ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถึงเขตดุสิต กรุงเทพหานคร รวมความ
ยาว 50.8 กิโลเมตร (กม.) โดยกรมชลประทานรับผิดชอบความยาว 28.5 กม. ปริมาณน้ำระบายผ่านคลองสูงสุด 24.67 ลบ.ม./วินาที และกรุงเทพมหานครรับผิดชอบความยาว 22.3 กม. ปัจจุบันคลองเปรมประชากรทำหน้าที่ระบายน้ำในพื้นที่โดยรอบในฤดูฝน และมีการรักษาคุณภาพน้ำซึ่งช่วงฤดูแล้งจะมีคุณภาพต่ำมาก โดยการหมุนเวียนน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งจากที่รับน้ำโดยตรงบริเวณต้นคลองในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจากคลองรังสิตฯ รวมถึงคลองต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานคร ดังนั้น โครงการขุดลอกฯ จะช่วยให้คลองบางกระสั้นสามารถระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าสู่คลองเปรมประชากรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งประชาชนในพื้นที่จะได้รับประโยชน์ มีน้ำใช้เพียงพอสำหรับเกษตรกรรม รวมถึงทำให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“แม้ว่าคลองเปรมประชากรจะไม่ใช่คลองระบายน้ำสายหลัก แต่ทำหน้าที่ระบายน้ำในพื้นที่โดยรอบในฤดูฝน และให้มีน้ำคุณภาพดีไหลหมุนเวียนในฤดูแล้ง ซี่งจากการพัฒนาคลองเปรมฯ อย่างต่อเนื่องพบว่า ปัจจุบันคุณภาพน้ำในคลอง
เปรมประชากรด้านเหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงเสื่อมโทรมตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ แต่ยังไม่น้อยกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทานของกรมชลประทาน ส่วนคุณภาพน้ำในคลองเปรมประชากรด้านใต้คลองรังสิตประยูรศักดิ์ด้านต้นคลองที่ติดคลองรังสิตฯอยู่ในเกณฑ์พอใช้ส่วนด้านล่างลงมาอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากตามมาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษ และต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในทางน้ำชลประทานของกรมชลประทาน เนื่องจากคลองเปรมประชากรด้านใต้คลองรังสิตประยูรศักดิ์มีบ้านเรือนรุกล้ำทางน้ำจำนวนมาก มีการปล่อยน้ำเสีย สิ่งปฏิกูลลงในคลอง ซึ่งกรมชลประทานร่วมกับกรุงเทพมหานครในการสูบน้ำดีจากคลองรังสิตประยูรศักดิ์ที่สถานีสูบน้ำเปรมใต้มาช่วยเจือจางน้ำเสีย โดยคลองรังสิตประยูรศักดิ์จะรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตรง รวมทั้งรับน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านคลองเปรมประชากรด้านเหนือคลองรังสิตประยูรศักดิ์” ดร.สมเกียรติ กล่าว
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
20 เมษายน 2563

นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม คณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 7/2563

          เมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 นายพรพจน์ เพ็ญพาส รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุม คณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำ ครั้งที่ 7/2563 ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีนายอุทัย เตียนพลกรัง ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการลุ่มน้ำ 3 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) พร้อมด้วย นายธรมพงศ์ เนาวบุตร ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารจัดการลุ่มน้ำ 3 สทนช. เจ้าหน้าที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค กรมการทหารช่าง หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมน้ำปิง ชั้น 4 อาคารจุฑามาศ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
ซึ่งการประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมติดตามผลการวิเคราะห์การดำเนินงานของคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำตามผลการประชุมคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ พร้อมทั้งพิจารณาการติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี 2563 (งบกลาง) การติดตามการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขภัยแล้งปี 2562/63 ของภาคตะวันออก การติดตามการแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ จำนวน 439 แห่ง เพื่อมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการและจัดทำแผนการดำเนินงานและนำเสนอคณะทำงานด้านบริหารจัดการน้ำต่อไป

พลเอก ประวิตร” สั่งเข้มแผนแก้แล้ง ป้องกันผลกระทบซ้ำ ในช่วงการระบาดโควิด-19

พลเอก ประวิตร” สั่งเข้มแผนแก้แล้ง
ป้องกันผลกระทบซ้ำ ในช่วงการระบาดโควิด-19

วันนี้ (13 เม.ย.63) เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เป็นประธานการประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติผ่านระบบวิดีโอคอน
เฟอร์เรนซ์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมอุตุนิยมวิทยา กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กองทัพบก หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรมทรัพยากรน้ำ การประปาภูมิภาค การประปานครหลวง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
พลเอก ประวิตร กล่าวว่า การประชุมวันนี้เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำและความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์น้ำแล้ง อาทิ ลุ่มเจ้าพระยา และ
เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC รวมถึงเน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดดำเนินการโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลน้ำปี 2562/63 และโครงการเร่งด่วนเพื่อการกักเก็บน้ำในฤดูฝน ปี 2563 ในส่วนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้วโดยเร่งด่วนให้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบให้กับประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังการขาดแคลนน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือผลกระทบมาซ้ำเติมกับพี่น้องประชาชนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ขณะนี้
ขณะเดียวกัน ยังได้หารือถึงแผนบริหารจัดการน้ำในภาวะวิกฤติในส่วนภาคตะวันออก ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยล่าสุดพบว่า หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ
เอกชน ได้ประสานความร่วมมือเร่งรัดดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายน้ำตามมติที่ประชุมกองอำนวยการน้ำแห่งชาติที่ได้มีการกำหนดมาตรการรับมือล่วงหน้า เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ที่ประสบปัญหาน้ำในอ่างฯ น้อย ซึ่งจะช่วยทำให้สถานการณ์น้ำจังหวัดระยองและ EEC ดีขึ้น แต่เพื่อความไม่ประมาทได้เน้นย้ำให้กรมชลประทานและบริษัทอีสวอเตอร์ การประปาภูมิภาค ประเมินปริมาณน้ำต้นทุน พร้อมเตรียมมาตราการจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มขึ้นด้วย รองรับภาวะเสี่ยงขาดแคลน้ำกรณีไม่มีฝนตกถึงเดือน มิ.ย.63 โดยเร็ว รวมถึงให้การนิคมอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพหลักในติดตามการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานผลการปฏิบัติงานทุกวันพุธให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติเพื่อใช้ในการติดตามการบริหารจัดการน้ำ
พลเอก ประวิตร กล่าวต่ออีกว่า ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2563 แล้วส่งให้กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจัดทำแผนการจัดสรรน้ำฤดูฝนให้
สอดคล้องกัน ขณะเดียวกัน มอบหมายให้กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับสถานการณ์น้ำเพื่อส่งให้ สทนช.รวบรวมสรุปแผนเสนอต่อคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เห็นชอบภายใน 20 เมษายนนี้ พร้อมแจ้งกระทรวงมหาดไทยรับทราบและแจ้งผู้ราชการจังหวัดประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนรับทราบต่อไป
ทั้งนี้ นอกจากการเร่งดำเนินการบรรเทาและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากน้ำแล้งแล้ว ที่ประชุมยังหารือถึงแผนเตรียมการรับมือฤดูฝนที่จะถึงนี้ไปพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำที่จะเป็นอุปสรรค
สำคัญต่อการระบายน้ำและอาจส่งผลให้เกิดปัญหาท่วมขังได้นั้น ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำที่ยังไม่ได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ใช้ดาวเทียมติดตามสำรวจลำน้ำที่มีวัชพืชและผักตบชวาในลำน้ำต่าง ๆ และรายงานให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติทราบเพื่อใช้สำหรับวางแผน และแจ้งให้กรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกำจัดวัชพืชให้ทันฤดูน้ำหลาก ปี 2563
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบและ
ซ่อมแซมสภาพอาคารชลศาสตร์ ระบบระบายน้ำ และสถานีโทรมาตร ให้พร้อมใช้งานในฤดูฝนนี้
ด้าน ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ซึ่ง
ปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เริ่มดำเนินการแล้ว 348 แห่ง จากแผนงาน 704 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 49.43 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เสนอขอ และได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 550 แห่ง อยู่ระหว่างเร่งรัดดำเนินการ จากแผนงาน 888 แห่ง กองทัพบก เริ่มดำเนินการแล้ว 168 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 83.16 จากแผนงาน 209 แห่ง หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ 181 แห่ง จากแผนงาน 190 แห่ง และไม่สามารถดำเนินการได้ 9 แห่ง การประปาส่วนภูมิภาค ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด 50 ตามแผนงานคิดเป็น 100% ซึ่งโครงการที่แล้วเสร็จดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ได้ปริมาณน้ำบาดาล 113 ล้าน ลบ.ม.ประชาชนได้รับประโยชน์จากน้ำบาดาล 96,153 ครัวเรือน ผู้ใช้น้ำประปารับประโยชน์ 183,192 ราย มีน้ำสำรองประปา 700,000 ลบ.ม. ซึ่ง กอนช. จะมีการติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ก่อนที่ฝนจะมาด้วย
………………………………………….
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
13 เมษายน 2563